ค้นหาบล็อกนี้
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เบต้ากลูแคนกับการบำบัดมะเร็งปอด
มะเร็งปอด พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยาก
และมีอัตราการตายสูง
สาเหตุ
1. บุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคมะเร็งปอด ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่า
ผู้ไม่สูบ 10 เท่า ผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ของ ผู้อื่น เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดด้วย ควันบุหรี่มีสาร
ประกอบมากกว่า 4,000 ชนิด และในจำนวนนี้มีประมาณ 60 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ตัวกระตุ้นและตัว
ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งปอด ได้แก่ ทาร์ นิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยานายด์ ฟีนอล
แอมโมเนีย เบ็นซิน และ ฟอร์มาลดีฮายด์ เป็นต้น
มะเร็งปอด พบมากในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งนิยม สูบบุหรี่พื้นเมือง ขี้โยหรือยามวน ซึ่งมีปริมาณทาร ์
และ สารก่อมะเร็ง อื่นๆ สูง
2. แอสเบสตอส เป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช
ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เหมือง แร่ ผู้ที่เสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้
แอสเบสตอสเป็นส่วน ประกอบ ระยะเวลาตั้งแต่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้ เวลา
15–35 ปี ผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส เสี่ยงต่อมะเร็ง ปอดมากกว่าคนทั่ว ไป 5 เท่า
ผู้สูบบุหรี่และทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอสด้วย เสี่ยงต่อมะเร็งปอดมากกว่า คนทั่วไปถึง 90 เท่า
3.เรดอน เป็นก๊าซกัมมันตรังสี ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการสลายตัว ของแร่ยูเรเนียมในใยหิน ซึ่ง
กระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดิน ในที่ๆอากาศ ไม่ถ่ายเท เช่น ในเหมืองใต้ดินอาจมีปริมาณมากทำให้มี
ความเสี่ยงต่อการ เกิดมะเร็งปอดได้
4.มลภาวะในอากาศ ได้แก่ไอควันพิษจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
อาการ
ระยะเริ่มแรกของโรค ไม่มีอาการใดใดที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะเร็ง ปอด แต่อาจพบอาการไอเรื้อรัง
ลักษณะไอแห้งๆ นานกว่าธรรมดา บางครั้ง มีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสายๆติดปนกับเสมหะออกมา
น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย
ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่มาพบแพทย์ เพื่อรับการ รักษา ทำให้โอกาสที่จะรักษา
หายลดน้อยลง
อาการ
1. ไอแห้งๆ อยู่นานกว่าธรรมดา
2. ไอมีเสมหะ
3. ไอเป็นเลือด แต่เลือดมักออกปนมากับเสมหะ
4. ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก
5. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย
6. เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังประสาทบริเวณกล่องเสียง
7. บวมที่หน้า คอ แขน และอกส่วนบน เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
8. หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลงไม่เพียงพอกับ
ความต้องการของร่างกาย
9. กลืนลำบาก เนื่องจากหลอดอาหารถูกกด
10. เจ็บปวด เนื่องจากมะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปในกระดูก ผนังอก ฯลฯ
11. อัมพาด เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจาย ไปยังสมองหรือไขสันหลัง
การวินิจฉัย
1. ถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด
2. ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
3. ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม
4. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลือง บริเวณไหปลาร้า เพื่อการ
วินิจฉัยทางพยาธิวิทย
การรักษา
เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้วแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผู้ป่วย
ควรจะได้รับการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาถึงอายุ ภาวะ
ความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรค ชนิดของมะเร็งและการยอมรับ
ของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย
1. การผ่าตัด
2. รังสีรักษา
3. เคมีบำบัด
4. การรักษาแบบผสมผสานวิธีการดังกล่าวข้างต้น
5. การรักษาแบบประคับประคอง
การป้องกัน
1. เลิกสูบบุหรี่
2. หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม
3. รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น และอาหารที่มี วิตามินซี วิตามินอี รวมทั้ง
เซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อมมือ รำข้าว และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจลด
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด
4. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุราอาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการ
เกิดโรคมะเร็งปอดได้
ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ
ต้นทั้งในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดย
เฉพาะในเพศหญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่(80-90%)เกิดจากการสูบบุหรี่
จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้
ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็น
ผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี มะเร็งปอด
พบมากในคนอายุ 50-75 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80%) จะเป็นผู้ที่สูบ
บุหรี่ และ ประมาณ 5% จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่ นผู้ที่สูดดมควัน
บุหรี่จากผู้อื่นจะมี ความเสี่ยง ต่อ การเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 26% จำนวนมวนของบุหรี่
ที่สูบต่อวันและ ชนิดของบุหรี่ที่สูบจะสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยง
ต่อการเกิดมะเร็งปอดผู้ที่สูบบุหรี่10-13% จะเกิด มะเร็งปอดภายในเวลา 30-40
ปี อย่างไรก็ตามถ้าเลิกสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราการเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็ง
ปอดลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในเวลา 10-15 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ และเป็นโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
สารก่อมะเร็งที่อาจเป็นสามเหตุของโรคในผู้ป่วย10-15%ซึ่งไม่สูบบุหรี่ ได้แก่
แอสเบสตอส (ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตผ้าเบรครถยนต์ เป็นต้น)
โดยเฉพาะถ้าผู้นั้นสูบบุหรี่ด้วย จะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งสูงถึง 50 เท่า
สารก่อมะเร็งอื่นได้แก่ แร่เรดอน มลภาวะใน อากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก
ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การฉายรังสีเพื่อรักษา
มะเร็งชนิดอื่นก็อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ร่วมด้วย
นอกจากนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มะเร็งปอดเป็นโรคที่ตรวจ
ค้นหาในระยะ เริ่มแรกได้ยาก การนำเอาผู้ที่อยู่ใน
กลุ่มเสี่ยง (ผู้ชายสูบบุหรี่อายุเกิน 40 ปี) มาตรวจ เสมหะและเอ็กซเรย์ปอดเพื่อ
พยายามจะลดอัตราการตายจากโรคมะเร็ง พบว่า สามารถพบผู้ป่วยมะเร็งใน
ระยะเริ่มแรกมากขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราตายลงได้ การล้มเหลวจากการนี้
เชื่อว่า เนื่องจากมะเร็งปอดแม้จะมีขนาดเล็กก็พบการแพร่กระจายได้สูงมะเร็ง
ปอด มักจะ เริ่มมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการที่พบได้แก่ อาการไอ
หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อย และเจ็บลึกที่หน้าอก หายใจลำบาก
จากน้ำท่วมปอด เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีอาการเนื่องจากมะเร็๋งลุกลามหรือ
แพร่กระจาย เช่น เสียงแหบ อาการทางสมอง ปวดกระดูก เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น